สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 10 ก.ย. 64
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศม. รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ ณ วันที่ 10 ก.ย. 64 ดังนี้
1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. 64 ลดลงร้อยละ -0.02 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.07 ต่อปี
2. ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 39.6 จากระดับ 40.9 ในเดือนก่อน
4. ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -29.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
5. ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 76.8 จากระดับ 78.9 ในเดือนก่อน
6. ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 64 ขาดดุล -680.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
7. สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่เงินฝากในสถาบันการเงิน ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
8. GDP ของญี่ปุ่น ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
9. GDP ของยูโรโซน ไตรมาสที่ 2 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 3) ขยายตัวร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
10. GDP ของสหราชอาณาจักร ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ส.ค. 64 ลดลงร้อยละ -0.02 ต่อปี กลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ 5 เดือน โดยมี สาเหตุสาคัญจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียม การศึกษา ค่ากระแสไฟฟ้า และค่าน้าประปา ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดบางชนิดมีราคาลดลงเมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้าว เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้สด
นอกจากนี้ ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน แม้จะยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนที่ ผ่านมา ขณะที่สินค้าบางชนิดมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่และเครื่องประกอบอาหาร และบางชนิดราคา ทรงตัว ซึ่งเคลื่อนไหวสอดคล้องกับสถานการณ์ ส่งผลให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ปรับลดลงทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ขยายตัวร้อยละ 0.07
ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ส.ค. 64 ขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 จากหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 39.3 ตามราคาเหล็ก และผลิตภัณฑ์เหล็กในตลาดโลกที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดอื่นที่เหลือ ส่วนใหญ่ยังคง เคลื่อนไหวตามราคาต้นทุนวัถุดิบที่เพิ่มขึ้น มีเพียงหมวดซีเมนต์ที่เป็นหมวดหลักยังหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -1.7 ทั้งนี้ สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตรายวันในสัดส่วนที่สูง ประกอบกับ ความกังวลต่อการพบคลัสเตอร์ผู้ติดเชื้อในแคมป์ก่อสร้าง จะยังเป็นปัจจัยกระทบการก่อสร้างและส่งผลให้ดัชนี ราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวในทิศทางชะลอลงในช่วงถัดไป
เครื่องชี้เศรษฐกิจ ไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 39.6 จากระดับ 40.9 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นระดับต่าสุดในรอบ 22 ปี 11 เดือน นับตั้งแต่ทาการสารวจในเดือน ต.ค. 41 เป็นต้นมา
เนื่องจากมีความกังวลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของในประเทศไทยในรอบที่ 4 และการที่รัฐบาลกาหนดพื้นที่ ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด โดยออกมาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวในเวลา 21.00 - 04.00 น. เพื่อควบคุม การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบต่อการดาเนินชีวิตของประชาชน การทาธุรกิจ และภาวะ เศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับความกังวลในสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลงและการฉีดวัคซีน ให้กับประชาชนที่ล่าช้า ส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงและขาดแรงกระตุ้นในการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจในอนาคต อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคเริ่มรู้สึกมีความหวังว่าเศรษกิจไทยจะกลับฟื้นตัวได้ใ่นอนาคต หลังจาก ศบค. ประกาศผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564
ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ส.ค. 64 หดตัวท่ีร้อยละ -29.2 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวท่ีร้อยละ -21.9
การหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ยังคงได้รับผลของความกังวลของผู้บริโภคเกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีจานวนผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทาให้มีการควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อรายได้และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประกอบกับความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบัน การเงินที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและหนี้ของเกษตรกรที่สูงขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจไทย
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ส.ค. 64 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 76.8 จากระดับ 78.9 ในเดือนก่อน
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นประกอบกับภาครัฐยกระดับมาตรการล็อกดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง ทั้งนี้ การแพร่ระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งทาให้กาลัง การผลิตลดลงและการส่งมอบสินค้าล่าช้าโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ยัง เผชิญกับปัญหาหารขาดสภาพคล่องอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทยังเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการส่งออก
เครื่องชี้ภาคการเงิน
ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือน ก.ค. 64 ขาดดุล -680.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ อยู่ที่ -1,305.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ขาดดุลที่ -4,041.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ดุลการค้า (ตามระบบ BOP) เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 3,361.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ ดลุ บัญชีเดินสะพัดในปี 64 ขาดดุลรวม -9,325.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินเชื่อในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 64 มียอดคงค้าง 19.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 3.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนกอ่นหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาล) เมื่อแยกประเภทการขอ สินเชื่อพบว่า สินเชื่อเพื่อธุรกิจขยายตัวร้อยละ 1.9 ขณะที่สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคขยายตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
เงินฝากในสถาบันการเงินเดือน ก.ค. 64 มียอด คงค้าง 22.8 ล้านล้านบาท คิดเป็นการขยายตัว ท่ีร้อยละ 2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วขยายตัวที่ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้า โดยเงินฝากจากธนาคาร พาณิชย์ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ขณะที่ เงินฝาก สถาบันการเงินเฉพาะกิจขยายตัวในอัตราชะลอตัวที่ ร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
เครื่องชี้เศรษฐกิจต่างประเทศ
สหรัฐฯ
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ (29 ส.ค. - 4 ก.ย. 64) ลดลงต่อเนื่อง จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 3.10 แสนราย ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่ 3.45 แสนราย ขณะที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 3.35 แสนราย และเป็นระดับที่ต่าที่สุดนับตั้งแต่ปลาย เดือน มี.ค. 63 สะท้อนการฟื้นตัวของตลาดแรงงานในสหรัฐฯ โดยได้รับแรงหนุนจากการที่ ธุรกิจกลับมาเปิดให้บริการมากขึ้น และการเปิดภาคการศึกษาใหม่ในเดือน ก.ย. 64 อย่างไรก็ดี ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และปัญหาการขาด แคลนแรงงาน นอกจากนี้จานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยต่อสัปดาห์ในช่วง ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐฯ ที่อยู่ที่ 2 แสนราย ทั้งนี้ ต้องรอติดตาม สถานการณ์หลังวันที่ 6 ก.ย. 64 ที่โครงการสวัสดิการว่างงานจะสิ้นสุดลง
จีน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลง จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นระดับที่ต่าที่สุดใน รอบ 5 เดือน เป็นผลมาจากราคาอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสุกรที่ปรับตัวลดลงมาก เป็นสาคัญ นอกจากนี้ การเพิ่มมาตรการเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา รวมถึงการจากัดการเดินทาง ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่ออุปสงค์ในภาคบริการ
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 19.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้แรงหนุนจาก การฟื้นตัวของอุปสงค์โลก โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งช่วยชดเชยผลกระทบทาง เศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ในจีน และปัญหาการขนส่งทางเรือ
มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 33.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 28.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอุปสงค์ ภายในประเทศที่ฟื้นตัว สะท้อนความสาเร็จในการดาเนินมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด
ดุลการค้า เดือน ส.ค. 64 เกินดุลที่ระดับ 58.34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดือน ก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 56.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ญี่ปุ่น
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 7.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
ยูโรซน
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 64 (ประมาณการครั้งที่ 3) ขยายตัวร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวอยู่ที่ร้อยละ -1.2 เนื่องจาก ปัจจัยฐานต่าประกอบกับอุปสงค์ที่ฟื้นตัวจากการกลับมาเปิดเศรษฐกิจของยูโรโซนอีกครั้ง ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 จากการประชุมในเดือน ก.ย. 64 อย่างไรก็ดี
ทางธนาคารกลางยุโรปได้ส่งสัญญาณว่าจะปรับลดวงเงินในโครงการซื้อ พันธบัตรฉุกเฉินป้องกันผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (PEPP) เนื่องจาก เศรษฐกิจยูโรโซนส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ออสเตรเลีย
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จากร้อยละ 32.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนก่อนหน้า
มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ค. 64 ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในอัตราที่ชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 11.7 จาก ร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนก่อนหน้า
ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 เกินดุลอยู่ที่ 12.11 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย จาก 11.1 พันล้าน ดอลลาร์ออสเตรเลียในเดือนก่อนหน้า
มาเลเซีย
ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.75 ต่อปี
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -8.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน หดตัวเพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากยอดขายเชื้อเพลิงรถยนต์เป็นสำคัญ
อัตราว่างงาน เดือน ก.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 ของกาลังแรงงานรวม คงที่จากเดือนก่อนหน้า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -5.2 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลง จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 1.4 เนื่องจากผลผลิตของสินค้าอุตสาหกรรมโดยรวมที่ลดลง เป็นสาคัญ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ระดับ 77.3 จุด ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ ที่ระดับ 80.2 จุด เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดขึ้น
อินโดนีเซีย
ยอดค้าปลีก เดือน ก.ค. 64 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 เนื่องจากยอดขายสินค้าประเภทเส้ือผ้าเป็นสาคัญ
มูลค่าการส่งออก เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 12.7 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 18.8 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ฟิลิปปินส์
มูลค่าการนาเข้า เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 24.0 จากช่วงเดียวกันปีก่อน ลดลงจาก เดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 43.4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน
ดุลการค้า เดือน ก.ค. 64 ขาดดุลที่ 3.29 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ ขาดดุลที่ 3.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน หน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากราคาสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เป็นสำคัญ
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.ค. 64 ขยายตัวที่ร้อยละ 528.1 จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 444.6 เนื่องจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกลั่น ที่เพิ่มขึ้นเป็นสาคัญ รวมทั้งมีสาเหตุมาจากฐานต่าปีก่อนหน้าเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ ระบาดโควิด-19 อัตราการว่างงาน ไตรมาสที่ 3 ปี 64 อยู่ที่ร้อยละ 6.9 ของกำลังแรงงานรวมลดลง จากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 8.7 ของกำลัง แรงงานรวม
ไต้หวัน
อัตราเงินเฟ้อ เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 2.36 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เร่งขึ้น จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.92 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
มูลค่าการส่งออก เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 26.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 34.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ดีกว่า คาดการณ์ของตลาดที่ร้อยละ 23.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมียอดขายที่เพิ่มขึ้นใน สินค้าประเภทโลหะ พลาสติกและยาง และเครื่องจักร เป็นสำคัญ
มูลค่าการนาเข้า เดือน ส.ค. 64 ขยายตัวที่ระดับร้อยละ 46.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 41.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการนาเข้า สินค้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มแร่ โลหะ และเครื่องจักร เป็นสำคัญ
ดุลการค้าเกินดุลที่ระดับ 3.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลที่ระดับ 5.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
สหราชอาณาจักร
GDP ไตรมาสที่ 2 ปี 64 ขยายตัวร้อยละ 22.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็น การขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (หลังขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)
มูลค่าการส่งออก เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนใน เดือนก่อนหน้า
มูลค่าการนาเข้า เดือน มิ.ย. 64 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนใน เดือนก่อนหน้า
ดุลการค้า เดือน มิ.ย. 64 ขาดดุลอยู่ที่ -2.5 พันล้านปอนด์ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน มิ.ย. 64 ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน ก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 20.7
เครื่องชี้ตลาดเงินตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย สวนทางกับตลาด หลักทรัพย์อื่น ๆ ในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เช่น Nikkei225 (ญี่ปุ่น) HSI (ฮ่องกง) และ CSI300 (เซี่ยงไฮ้) เป็นต้น เมื่อวันที่ 9 ก.ย. 64 ดัชนีปิดที่ระดับ 1,629.12 จุด ด้วยมูลค่าซื้อขาย เฉลี่ยระหว่างวันที่ 6–9 ก.ย. 64 อยู่ที่ 90,309.26 ล้านบาทต่อวัน โดยนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนทั่วไปในประเทศ เป็นผู้ซื้อสุทธิ ขณะที่ นักลงทุนบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เป็นผู้ขายสุทธิ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6–9 ก.ย. 64 ต่างชาติ ซื้อ หลักทรัพย์สุทธิ 3,284.61 ล้านบาท
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลโดยรวมปรับตัวเพ่ิมขึ้นในช่วง 1 ถึง 9 bps โดยในสัปดาห์นี้นักลงทุนมีการประมูลพันธบัตรรัฐบาลอายุ 6 ปี ซึ่งมีนักลงทุนสนใจ 1.60 เท่าของวงเงินประมูล ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 6–9 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลออก จากตลาด พันธบัตรสุทธิ -6,017.91 ล้านบาท และหากนับจากต้นปีจนถึงวันที่ 9 ก.ย. 64 กระแสเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ ไหลเข้า ในตลาด พันธบัตรสุทธิ 115,358.88 ล้านบาท
เงินบาทอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อน โดย ณ วันที่ 9 ก.ย. 64 เงินบาท ปิดที่ 32.74 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลงร้อยละ -0.90 จาก สัปดาห์ก่อนหน้า สอดคล้องกับเงินสกุลเยน ยูโร วอน ดอลลาร์สิงคโปร์ และหยวน ท่ีปรับตัวอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบกับดอลลาร์ สหรัฐ ขณะท่ีเงินสกุลริงกิตปรับตัวแข็งค่าข้ึนจากสัปดาห์ก่อนเมื่อเทียบ กับดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เงินบาทอ่อนค่าลงมากกว่าเงินสกุลหลักอื่น ๆ ในภูมิภาค ส่งผลให้ ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) อ่อนค่าลงร้อยละ -0.79 จากสัปดาห์ก่อน
Economic Indicators
Global Economic Indicators
ขอบคุณข้อมูลจาก Macroeconomic Policy Bureau Fiscal Policy Office Ministry of Finance
02-273-9020 Ext. 3259